วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

สาระที่ 5 โครโมโซม

โครโมโซม (Chromosome) คืออะไร


โครโมโซม (Chromosome)เป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ (DNA)รวมถึงหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(gene)[ยีน(gene)ก็อยู่ใน ดีเอ็นเอ (DNA) อีกที] ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูล เกี่ยวกับ ลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น ลักษณะของเส้นผม ลักษณะดวงตา เพศ และผิว
โครโมโซม(Chromosome) แปลว่าสิ่งย้อมสีติด เพราะโครโมโซม(Chromosome)สามารถย้อมสีให้ติดได้
เมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์มองโครโมโซม(Chromosome)จะเห็นมีลักษณะคล้ายๆเส้นด้ายบางๆ เรียกว่า “โครมาติน (chromatin) หรือ เส้นใยโครมาติน(chromatin fiber)” ขดตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ เมื่อมีการแบ่งเซลล์จะมีการแบ่งโครโมโซม(Chromosome)เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเซลล์เริ่มมีการแบ่งตัว เส้นใยโครมาติน(chromatin fiber)จะหดและขดตัวจนมีลักษณะเป็นแท่ง เรียกว่า “โครโมโซม (Chromosome)” แต่ละโครโมโซม (Chromosome) ประกอบด้วยแขนสองข้างที่เรียกว่า “โครมาทิด (chromatid)” ซึ่งแขนทั้งสองข้างจะมีจุดเชื่อมกัน เรียกว่า “เซนโทรเมียร์ (Centromere)”
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)เท่ากันเสมอ ยกเว้นกรณีเกิดการผิดปกติบางอย่าง เช่น ผิดปกติในขณะการแบ่งเซลล์
สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันมักมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)ไม่เท่ากันแต่ก็อาจมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)เท่ากันได้
จำนวนโครโมโซม(Chromosome)ที่มาก ไม่สัมพันธ์กับขนาดของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น ยูกลีนา ที่มีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)ถึง 90 แท่งแต่มีขนาดเล็กมาก ในขณะที่คนมีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)แค่ 46 แท่ง
สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีจำนวนโครโมโซม(Chromosome)ในเซลล์ร่างกายอยู่ 2 ชุด หรือเรียกว่า 2n (diploid)ส่วนในเซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนโครโมโซม (Chromosome)เพียงชุดเดียวเรียกว่า n หรือ แฮพลอยด์(haploid)

สาระที่ 4 พืช

พืชเป็นผู้ผลิตอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนและสัตว์ และมันยังช่วยสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติ โดยปกติแล้วเราจะแบ่งพืชออกตามวิธีการสืบพันธุ์ และนั่นทำให้เราได้กลุ่มของพืชไม่มีดอก และพืชมีดอก สำหรับพืชไม่มีดอกจะสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ แบ่งเซลล์ หรือแตกหน่อ เช่น เฟิร์น สาหร่าย เห็ด พืชเหล่านี้ถือว่ามีวิวัฒนาการที่ต่ำว่าพืชมีดอก ซึ่งสืบพันธุ์ด้วยการผสมกันระหว่างเกสรด้วยผู้และเกสรตัวเมีย และได้เป็นเมล็ดเพื่อใช้ขยายพันธุ์ต่อไป โดยพืชดอกนี้จัดว่าเป็นพืชชั้นสูงกว่า เช่น ต้นข้าว และผลไม้ต่าง ๆ ที่เรารับประทาน  

ภาพ : Pixabay

เราสามารถแบ่งพืชชั้นสูงเหล่านี้ต่อโดยการจำแนกจากใบเลี้ยง ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) 2. พืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon)
โดยใบเลี้ยงของพืชนี้จะทำหน้าที่สะสมอาหารเพื่อเลี้ยงต้นอ่อนขณะงอก และเป็นส่วนที่งอกออกมาจากเมล็ดตามหลังราก หรืออาจจะพร้อม ๆ กันกับราก ใบเลี้ยงเดี่ยวของพืชบางชนิดยังมาพร้อมกับคลอโรฟิลล์ตั้งแต่เริ่มทำให้มันสามารถเริ่มการสังเคราะห์ด้วยแสง เตรียมเป็นพลังงานให้กับต้นพืชได้เติบโต แต่เมื่อสารอาหารที่สะสมอยู่ในใบหมดไป และต้นโตพอที่จะมีใบแท้ (Foliage leaf) ออกมาแล้ว ใบเลี้ยงก็จะเริ่มแห้งเหี่ยวหลุดไปในที่สุด

ประเภทของพืชจำแนกจากใบเลี้ยง

1. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon)

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว คือ พืชที่เมื่อใบแรกแทงออกมาจากเมล็ด มีใบเดียว และเมื่อเติบโตขึ้นจะเห็นลำต้นเป็นข้อปล้องอย่างชัดเจน ได้แก่ พืชจำพวกหญ้า ข้าว ข้าวโพด อ้อย ไผ่ พืชเหล่านี้จะมีใบเรียงตัวเป็นเลขคี่หรือใบเดียว เส้นบนใบจะเรียงตัวแบบขนานไปตามแนวยาวของใบ ลำต้นมักเรียว และเป็นพืชล้มลุกเป็นส่วนมาก พืชในกลุ่มนี้มีระบบรากฝอย แน่นอนว่าพวกมันมีดอก และจำนวนกลีบดอกของพืชกลุ่มนี้จะมี 3 กลีบหรือทวีคูณของ 3
ภาพ : Pixabay

พืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีมัดท่อลำเลียงแบบกระจัดกระจาย นั่นแปลว่า หากนำต้นพืชมาตัดขวางจะเห็นท่อลำเลียงกระจายไปทั่ว ที่สำคัญคือ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวไม่มีการเจริญออกด้านข้าง กล่าวคือ ไม่มีกิ่งก้านสาขาออกด้านข้าง อายุของพืชกลุ่มนี้จะสั้นอาจมีอายุเพียง 1 ปีหรือมากกว่านั้นเล็กน้อย อย่างไรก็ดี พืชกลุ่มนี้โตได้ไวกว่าพืชใบเลี้ยงคู่มาก หากเป็นพืชกลุ่มการเกษตรก็จะเป็นกลุ่มที่ให้ผลผลิตได้รวดเร็ว เช่น อ้อย ข้าวโพด ข้าว ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง 1 ปีก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว
ภาพ : Shutterstock

2. พืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon)

พืชใบเลี้ยงคู่จะงอกออกจากเมล็ดพร้อมกับใบเลี้ยง 2 ใบ และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน เนื่องจากมันมักจะมีเปลือกแข็งห่อหุ้ม และยังมีการเจริญเติบโตออกด้านข้าง มีกิ่งก้านสาขา แผ่ทุกทิศทางเพื่อเก็บเกี่ยวแสงแดดได้มากกว่า รากของพืชใบเลี้ยงคู่เป็นระบบรากแก้ว และนั่นทำให้ต้นของพืชใบเลี้ยงคู่มีความมั่นคงมากกว่า ทั้งยังมีอายุยาวนานกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวด้วย
ภาพ : Pixabay

แกนกลางของลำต้นพืชกลุ่มนี้จะไม่มีท่อลำเลียง แต่จะเป็นเนื้อไม้ซึ่งมีความแข็งแรงคงทน ส่วนท่อลำเลียงจะจัดเรียงเป็นวงอย่างมีระเบียบอยู่รอบลำต้น ส่วนใบของพืชกลุ่มนี้มีลักษณะกว้าง มีการแตกแขนงเป็นร่างแหออกจากแกนกลางของใบ จำนวนของกลีบดอกจะมี 4 - 5 กลีบ หรือทวีคูณของ 4 - 5 หากปลูกพืชใบเลี้ยงคู่เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนใหญ่มักต้องใช้เวลา นานกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ทั้งนี้ยังมีความแตกต่างกันอีกมากระหว่างพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่ อย่างเช่น ลักษณะโครงสร้างของเกสร หรือปากใบ (Stomata) แต่มันยากที่จะสังเกตเห็นชัดด้วยตาเปล่า
ภาพ : Shutterstock

นอกจากใบเลี้ยงและใบแท้ที่กล่าวไปในข้างต้น พืชยังมีใบชนิดอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นตามหน้าที่และตำแหน่งจำเพาะของมัน ใบแท้เองก็สามารถแบ่งได้อีก 2 แบบด้วยกัน คือ ใบเดี่ยว (Simple leaf) ซึ่งเป็นใบที่ติดกับก้านใบเดี่ยวๆ โดยงอกออกมาจากลำต้น และใบประกอบ (Compound leaf) ซึ่งประกอบด้วยใบมากกว่า 2 ใบขึ้นไปและมักเข้าคู่กันอย่างสมมาตร หากไม่นับใบที่ปลายก้านใบ ใบทั้งหมดนี้จะติดอยู่กับก้านใบเพียงก้านเดียว

ใบบางประเภทก็มีการปรับเปลี่ยนให้ทำหน้าที่อื่นๆ เช่น เพื่อการสะสมอาหาร เรียกว่า Storage leaf และใบเลี้ยงเองก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ใบดอก ซึ่งเป็นใบที่ได้รับสิทธิพิเศษในการเปลี่ยนสีเพื่อประโยชน์ในการดึงดูดแมลงเพื่อมาผสมพันธุ์ เนื่องจากกลีบดอกอาจจะมีขนาดเล็กไม่สะดุดตา พืชจึงปรับมาใช้ใบเข้าช่วย เช่น เฟื่องฟ้า หรืออาจเปลี่ยนเป็นเกราะป้องกันอย่างต้นเหงือกปลาหมอซึ่งเปลี่ยนใบกลายเป็นหนาม เป็นต้น
 

สาระที่ 3 โลก

Earth
โลก
• เขตดำรงชีพ

โลกเป็นดาวเคราะห์ประเภทมีพื้นผิวชัดเจน (Terrestrial) มีวงโคจรเป็นดวงที่ 3 จากดวงอาทิตย์ (Sun) มีขนาดใหญ่กว่าดาวอังคาร (Mars) ที่อยู่ใกล้ๆถัดไปซึ่งในอนาคต ดาวอังคารจะเป็นอาณานิคมใหม่ของมนุษย์ (Colonization of Mars) ที่ต้องใช้เวลาปรับตัวและสร้างสภาพแวดล้อมขึ้นใหม่ ส่วนโลกที่เป็นบ้านของเราในขณะน้ีนับเป็น ดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ (Solar System) ที่รู้กันดีว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ประเด็นสำคัญคือ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีพต่อระบบสัตว์รวมทั้งต้นไม้ แต่ละระบบของชีวิตต่างพึ่งพาอาศัยห่วงโซ่อาหารในเขตดำรงชีพ (Habitable Zone)

• แหล่งน้ำเป็นที่มาของออกซิเจน

โลกกำเนิดเมื่อระบบสุริยะผุดขึ้นมา ในขณะนั้นโลกยังเต็มไปด้วยความร้อน และรังสีอันตรายทั้งจากภูเขาไฟลาวาและการพุ่งชนปะทะของดาวหาง (Comet) ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids) เริ่มเกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกและยังไม่มีระบบชีวิตใดๆ แต่ต่อมาโลกค่อยๆเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดการสะสมของเมฆจำนวนมาก ทำให้ฝนตก ต่อเนื่องยาวนานมาก เกิดแหล่งน้ำในมหาสมุทรจึงเริ่มการก่อตัวของก๊าซออกซิเจน จากนั้นเริ่มเกิดกลไกของระบบชีวิตตามมาพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 4.5 พันล้านปี จึงมีความอุดมสมบูรณ์เช่นในวันนี้



• ตำแหน่งที่ตั้ง

โลกมีรัศมี 3,959 ไมล์ (6,371 กิโลเมตร) มีขนาดใกล้เคียงกับดาวศุกร์ (Venus) ห่างจากดวงอาทิตย์ระยะทางเฉลี่ย 93 ล้านไมล์ (149,597,910 กิโลเมตร) หรือ 1 หน่วย ดาราศาสตร์ (AU) จากระยะทางนี้แสงแดดจากดวงอาทิตย์จะใช้เวลา 8 นาทีในการเดินทางมาถึงโลก และเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็น ลำดับที่ 5 ของระบบสุริยะ

• การหมุนของโลกคือเวลาและปฎิทิน

ดาวเคราะห์ทุกดวงมีวงโคจรและการหมุน เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในการหมุนครบ 1 ครั้งใช้เวลา 23.9 ชั่วโมง หรือใช้เวลาประมาณ 365.25 วัน เท่ากับ 1 ปี ในการ เดินทางรอบดวงอาทิตย์ เป็นการนำมาใช้ในระบบปฏิทินซึ่งสอดคล้องกับวงโคจรและเมื่อครบรอบดวงอาทิตย์ทุก 4 ปีเราเพิ่มหนึ่งวัน วันนั้นเรียกว่าเป็นวันอธิกสุรทินและ ปีที่เพิ่มขึ้นจะเรียกว่า ปีอธิกสุรทินแกนหมุนของ

• หมุนเอียงช่วยให้เกิดฤดูกาลที่ต่างกัน

โลกมีการเอียง 23.4 องศา เมื่อเทียบกับพื้นผิวของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ การเอียงนี้ทำให้เกิดวงจรของฤดูกาลเป็นประจำทุกปี ในช่วงระหว่างปีซีกโลกเหนือจะ เอียงไปทางดวงอาทิตย์ และซีกโลกใต้จะเอียงออกไป เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้า ความร้อนจากแสงอาทิตย์มากขึ้น ในซีกเหนือจึงเป็นช่วงฤดูร้อนที่นั่น และความร้อนจาก แสงอาทิตย์น้อยลงก่อให้เกิด ฤดูหนาวในซีกใต้ หกเดือนต่อมาสถานการณ์จะกลับกลายเป็น การเริ่มต้นขึ้นขึ้นฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง เมื่อทั้งสองซีกโลกจะได้รับความ ร้อนเท่ากันจากดวงอาทิตย์


• ใต้พื้นโลกมีแต่ความร้อน

ใต้พื้นผิวโลกที่เรายืนอยู่เป็นกลไกสำคัญที่เอื้อต่อระบบชีวิต เป็นต้นทางแหล่งพลังงานคลื่นขอบเขตสนามแม่เหล็กโลก (Magnetosphere) ที่แผ่ออกมา ปกป้องเราจากรังสี อันตรายจากนอกโลก ชั้นภายในโลกประกอบด้วย 4 ชั้นหลัก

เริ่มต้นด้วยแกนภายในที่ศูนย์กลางที่ปกคลุมด้วยแกนด้านนอก ชั้นปกคลุมและเปลือกโลก แกนส่วนใน (Inner core) เป็นเหล็กและโลหะนิกเกิลประมาณ 1,221 กิโลเมตร ในรัศมีมีอุณหภูมิสูงถึง 5,400 องศาเซลเซียส ส่วนที่ล้อมรอบแกนส่วนในคือ แกนส่วนนอก (Outer Core) ชั้นนี้หนาประมาณ 2,300 กิโลเมตร ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิล หลอมเหลว ในระหว่างแกนนอกและเปลือกโลก (Mantle) เป็นชั้นปกคลุมหนาที่สุดมีส่วนผสมที่ร้อนและเหนียว ของหินหลอมเหลวมีความหนาประมาณ 2,900 กิโลเมตร และมีความสม่ำเสมอของคาราเมล

ชั้นนอกสุดของเปลือกโลก (Earth's Crust) ส่วนใหญ่อยู่ห่างจากแผ่นดิน (เรายืนเหยียบอยู่นี้) โดยเฉลี่ยประมาณ 30 กิโลเมตร ที่อยู่ด้านล่างลึกลงไป การหมุนอย่างรวดเร็ว ของโลกและแกนเหล็กนิกเกิลที่หลอมละลายทำให้เกิดสนามแม่เหล็กแผ่อออกมาบิดเบี้ยวเป็นรูปหยดน้ำในอวกาศ


• พายุสุริยะสร้างออโรรา

พายุสุริยะ (Solat Wind) เป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง สนามแม่เหล็กโลกจะเสมือนเกาะป้องกัน จึงไม่สามารถพุ่งปะทะ ถึงพื้นผิวโลกได้ แต่มีบางส่วนยังสามารถเล็ดรอดบริเวณช่องว่างของขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ เหมือนอนุภาคประจุไฟฟ้าปะทะกับออกซิเจน (หรือก๊าซอื่น) จะเริ่มเรืองแสงและทำให้เกิด แสงออโรรา (Aurorae) ที่เรียกว่าแสงเหนือ แสงใต้

• สนามแม่เหล็กโลกตัวชี้เข็มทิศ

สนามแม่เหล็กโลก (Magnetic Feld) คือสิ่งที่ทำให้เข็มทิศ (Compass) ชี้ไปที่ขั้วโลกเหนือโดยไม่คำนึงว่าเราจะหันทางใด แต่ขั้วแม่เหล็กของโลกสามารถเปลี่ยนพลิกทิศทาง ของสนามแม่เหล็กได้ บันทึกทางธรณีวิทยาย้อนกลับของสนามแม่เหล็ก พลิกเกิดขึ้นทุกๆ 400,000 ปีโดยเฉลี่ยแต่เวลาดังกล่าว ไม่สม่ำเสมอมากนัก เท่าที่เรารู้เช่นการผกผัน แม่เหล็กไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กับชีวิตบนโลกนี้และยังจะไม่เกิดขึ้นเป็นเวลาอย่างน้อยอีกพันปี


• โลกมีออกซิเจนเพียง 21%

โลกทีลำดับชั้นของบรรยากาศ และบริเวณใกล้พื้นผิวโลกมีบรรยากาศ (Atmosphere) ที่ประกอบด้วยไนโตรเจน 78 % ออกซิเจน 21 % และก๊าซอื่น ๆ 1 % เช่น อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์และนีออน ชั้นบรรยากาศโลกมีความสำคัญสร้างกระทบต่อสภาพอากาศในระยะยาว และสภาพอากาศในระยะสั้นของท้องถิ่น และชั้นบรรยากาศปกป้อง เราจากรังสีที่เป็นอันตรายจำนวนมากที่มาจากดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องเราจาก สะเก็ดดาวตก อุกกาบาต ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเผาไหม้ ในชั้นบรรยากาศหายไป ก่อนตกสู่พื้นดิน


• เปลือกโลกคล้ายเปลือกไข่ต้ม

ดาวอังคาร (Mars) และดาวศุกร์ (Venus) มีภูเขาไฟ ภูเขาและหุบเขา โลกเราก็เช่นเดียวกัน ธรณีวิทยาของโลกจะรวมถึงเปลือกโลก (ทั้งทวีปและมหาสมุทร) โดยชั้นบนสุด ที่เรายืนอยู่จะถูกแบ่งออกเป็นแผ่นใหญ่ๆ ที่เรียกว่าแผ่นเปลือก (Plate) มีการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง แผ่นเปลือกสามารถจินตนาการคล้ายเปลือกไข่ต้มที่มีรอยแตกแยก แต่ไม่หลุดออกจากกันและสามารถขยับได้

• เปลือกไข่ต้มขยับคือแผ่นดินไหว

การขยับนั้นคือการเกิดแผ่นดินไหว (Earthquake) การสั่นสะเทือนอย่างฉับพลันและรุนแรงของพื้นดิน อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวภายในเปลือกโลก หรือการกระทำ ของภูเขาไฟ โลกมีมหาสมุทรครอบคลุมเกือบ 70% ของพื้นผิวโลก มีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.5 ไมล์ (4 กิโลเมตร) และมีน้ำ 97% โดยภูเขาไฟเกือบทั้งหมดของโลกถูกซ่อน อยู่ใต้มหาสมุทร เช่น ภูเขาไฟเมานาเคอา (Mauna Kea) ในฮาวายและสันเขาที่ยาวที่สุดในโลกอยู่ใต้น้ำ ด้านล่างของมหาสมุทรอาร์กติก และมหาสมุทรแอตแลนติกยาวถึง 65,000 กิโลเมตร


• โลกคือที่เริ่มต้นชีวิต

โลกมีอุณหภูมิที่อบอุ่นและผสมผสานสารเคมีที่ทำให้ชีวิตเป็นไปได้ที่นี่ สิ่งที่น่าสังเกตมากที่สุดคือโลกมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยน้ำ เนื่องจากมี อุณหภูมิ ที่ร้อนและอบอุ่นช่วยให้น้ำอยู่ในสถานะของเหลวอยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ได้ยาวนาน โลกจึงเป็นสถานที่ที่สะดวกในการเริ่มต้น ชีวิตขึ้นเมื่อราว 3.8 พันล้าน ปีก่อน

• ทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์ของโลก

โลกมีดวงจันทร์ (Moon) อย่างเป็นทางการ 1 ดวง ค่าเฉลี่ยระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ คือ 238,855 ไมล์ (384,400 กิโลเมตร) ห่างออกไปนั่นหมาย ความว่าสามารถ นำโลก 30 ดวงมาเรียงกันเป็นระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ได้ บนดวงจันทร์ส่วนใหญ่เป็นหิน ที่มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนโลกน่าจะเป็นผลมาจากการชนกันระหว่าง โลกและดวงจันทร์เมื่อหลายพันล้านปีที่ผ่านมา

ขณะเมื่อโลกเป็นดาวเคราะห์เล็กๆมีก้อนหินยักษ์ใน อวกาศพุ่งมาชนปะทะแลัวกระดอนออกไป ส่วนหนึ่งจึงมีเนื้อของโลกติดไปด้วย รวมกันและก่อตัวขึ้น ดวงจันทร์ของเรา มีรัศมี 1,080 ไมล์ (1,738 กิโลเมตร) และถูกดึงไว้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกและหมุนโคจร ไปตามเส้นทางรอบๆโลกแบบพร้อมๆกันลักษณะถูกล็อควงโคจร ดังนั้นเราจึงเห็น ดวงจันทร์จากโลกด้านเดียวเสมอ

• หมู่บ้านชาวโลกบนดวงจันทร์

และในวันหนึ่งข้างหน้าโดยองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) กำลังดำเนินการ ตามแผนการที่จะจัดตั้งหมู่บ้านมนุษย์บนดวงจันทร์ (Moon Village) และโบสถ์ เป็นฐานสำหรับวิทยาศาสตร์ ธุรกิจการทำเหมืองแร่และแม้แต่การท่องเที่ยวในยุคใหม่แห่งการสำรวจ


10 เรื่องสำคัญของโลก

1.ขนาด
โลกเป็นดาวเคราะห์มีขนาดใกล้เคียงดาวศุกร์ ถ้าดวงอาทิตย์ใหญ่ลูกฟุตบอล โลกจะมีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด

2.ตำแหน่งในระบบสุริยะ
โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 ในระบบสุริยะที่ระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร (93 ล้านไมล์) หรือ 1 AU

3.วัน เดือน ปี
หนึ่งวันบนโลกเท่ากับ 24  ขั่วโมง  หนึ่งปีบนโลก เท่ากับ 365 วัน

4.ลักษณะพื้นผิว
โลกเป็นดาวเคราะห์หินพื้นผิวแข็งมีพลศาสตร์ (Dynamics) ของภูเขาหุบเขาที่ราบและอื่นๆอีกมากมายสิ่งที่ทำให้โลกแตกต่างจากดาวเคราะห์ ดาวอื่นคือ โลกเป็นดาวเคราะห์ ที่มีมหาสมุทรที่เป็นของเหลว (น้ำ) ครอบคลุมพื้นผิว 70 %

5.บรรยากาศ
ชั้นบรรยากาศของโลกประกอบด้วย ไนโตรเจน (N2) 78 % ออกซิเจน (O2) 21 % และส่วนผสมอื่นๆ 1 % เกิดสมดุลสมบูรณ์แบบสำหรับการหายใจของระบบชีวิตต่างๆ ซึ่งดาวเคราะห์หลายดวงมีบรรยากาศเช่นกันแต่ไม่เหมือนโลก

6.ดวงจันทร์
โลกมีดวงจันทร์ 1 ดวง

7.วงแหวน
โลกไม่มีวงแหวน

8.ยานสำรวจ
มียานสำรวจและดาวเทียมสื่อสารเป็นจำนวนมากที่โคจรอยู่ในวงโคจรต่ำ และวงโคจรสูงเพื่อตรวจสอบ และสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ร่วมถึง การเตือนภัยต่างๆ ที่จะเกิด ขึ้นกับโลก โดยเฉพาะสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) หรือ ISS

มีรหัสเรียกขานว่า Alpha STAR เป็นห้องปฏิบัติการลอยฟ้า ทดลองในอวกาศด้านต่างๆ ซึ่งโคจรรอบโลกที่ระยะสูงประมาณ 400 กิโลเมตร เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 27,744 กิโลเมตร/ชั่วโมง

9.เอื้อต่อระบบชีวิต
โลกมีความสมบูรณ์แบบสำหรับระบบชีวิตอย่างแท้จริง

10.สนามแม่เหล็ก
โลกมีขอบเขตสนามแม่เหล็ก ที่แข็งแกร่งช่วยปกป้องพายุสุริยะและอันตรายจากรังสีอวกาศ

สาระหน้าที่ 2 ชั้นบรรยากาศ

เคยมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วสงสัยบ้างไหมว่า ท้องฟ้าของเราไปสุดที่ตรงไหน สูงแค่ไหน แล้วข้างบนจะมีนางฟ้า หรือเทวดาอยู่หรือไม่ มีอะไรอยู่ข้างบนบ้าง       


ในความเป็นจริง เมื่อเรามองขึ้นไปบนฟ้า เราจะเห็นก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ ท้องฟ้าสีฟ้า นก หรือวัตถุอื่น ๆ ที่อาจเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างเครื่องบิน ซึ่งสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลกเท่านั้น

บรรยากาศ คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกหรือบรรยากาศที่อยู่รอบตัวเราตั้งแต่พื้นโลกขึ้นไป แรงดึงดูดของโลกที่มีต่อบรรยากาศทำให้บรรยากาศมีการเคลื่อนตัวตามการหมุนของโลกไปพร้อมกับพื้นโลก บรรยากาศทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกมีชีวิตอยู่ได้ โดยเป็นแหล่งออกซิเจนสำหรับการหายใจของสิ่งมีชีวิต เป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ให้พืชใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ช่วยป้องกันรังสี UV จากดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลก และทำให้สะเก็ดดาวถูกเผาไหม้ก่อนที่จะตกลงสู่พื้นโลกและเป็นอันตรายแก่สิ่งมีชีวิต

ประโยชน์ของบรรยากาศนั้นแตกต่างกันไปในตามแต่ชั้นบรรยากาศ โดยเราสามารถแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกออกได้ ดังนี้
 

1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere)

เป็นชั้นบรรยากาศชั้นล่างสุด ห่างจากพื้นดินขึ้นไปประมาณ 10 กิโลเมตร หรือ 33,000 ฟุต เป็นชั้นที่มีมนุษย์อาศัยอยู่ มีลักษณะเด่นคือ อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตามความสูง โดยอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ยิ่งสูงขึ้น อุณหภูมิจะยิ่งลดต่ำลงในอัตรา 6.5 ํC ต่อ 1 กิโลเมตร จนกระทั่งความสูงประมาณ 12 กิโลเมตร อุณหภูมิจะคงที่ประมาณ -60 ํC นอกจากนี้ชั้นโทรโพสเฟียร์ยังมีไอน้ำมาก ทำให้มีสภาพอากาศรุนแรงและแปรปรวน มีเมฆมาก เกิดพายุ และฝนบ่อยครั้ง

2. สตราโทสเฟียร์ (Stratosphere)

เป็นชั้นถัดจากโทรโพสเฟียร์ มีความสูงประมาณ 50 กิโลเมตร จากพื้นดิน มีอากาศเบาบาง ไม่มีเมฆและพายุ มีเพียงความชื้นและผงฝุ่น มีปริมาณความเข้มข้นของโอโซนมาก โอโซนจะช่วยดูดกลืนรังสี UV จากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ส่องมายังพื้นผิวโลกมากเกินไป นอกจากนี้เครื่องบินเจ็ตยังนิยมบินช่วงรอยต่อระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ เนื่องจากสภาพอากาศนิ่งสงบ

3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)

อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 85 กิโลเมตร อุกกาบาตที่พุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกส่วนใหญ่จะถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ ขณะที่อุณหภูมิจะลดลงตามความสูง ยิ่งสูงขึ้นจะยิ่งหนาว และหนาวที่สุดประมาณ -90 ํC โดยพบบริเวณช่วงบนของบรรยากาศชั้นนี้ นอกจากนั้นยังมีอากาศที่เบาบางมากอีกด้วย

4. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere)

อยู่ถัดจากชั้นมีโซสเฟียร์ขึ้นไป มีความสูงจากพื้นดินประมาณ 85-500 กิโลเมตร อุณหภูมิในชั้นนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึงระดับ 100 กิโลเมตร  เนื่องจากอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า 3 ชั้นแรก และจากนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิจะลดลง โดยอุณหภูมิในชั้นบนของเทอร์โมสเฟียร์ (Upper Thermosphere) จะอยู่ที่ 500-2,000 ํC อากาศในชั้นนี้มีแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่เป็นประจุไฟฟ้า เรียนว่า ไอออน ซึ่งสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางชนิด มีประโยชน์ในการสื่อสาร และกรองรังสีต่าง ๆ ที่มาจากนอกโลกได้ เช่น รังสีเอกซ์รังสี UV นอกจากนี้ดาวเทียมจำนวนมากยังโคจรรอบโลกอยู่ในชั้นนี้ด้วย

5. เอกโซสเฟียร์ (Exosphere)

เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงจากผิวโลกตั้งแต่ 500 กิโลเมตรขึ้นไป ไม่มีขอบเขตชัดเจนระหว่างบรรยากาศและอวกาศ องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียม
 

ทุกคนคงจะทราบกันแล้วว่าบนท้องฟ้าที่สูงขึ้นไปเหนือหัวของเราไม่ได้มีแค่เพียงนก ก้อนเมฆ เท่านั้น แต่ยังมีก๊าซต่าง ๆ ที่มีประโยชน์กับตัวเรามากมาย อย่างไรก็ตาม กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง การทำโรงงานอุตสาหกรรม ล้วนปล่อยก๊าซพิษสู่ชั้นบรรยากาศ กระทั่งทำลายบางส่วนของชั้นบรรยากาศไป และเป็นสาเหตุหนึ่งของปรากฏการณ์เรือนกระจกแและภาวะโลกร้อน

สาระหน้าที่ 1 ระบบสุริยะ (The Solar System)

ระบบสุริยะ คือ ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่างระบบสุริยะที่โลกของเรา เป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง

ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และบริวาร
ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และบริวาร
ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวาร (Moon) ที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf planet) 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid) วัตถุในแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ดาวหาง (Comet) สะเก็ดดาว (Meteoroid) และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ (Interplanetary dust cloud)
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย(Asteroid belt) ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย (Scattered disc) ขอบเขตเฮลิโอพอส (Heliosphere) (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต (Oort cloud)

บริเวณต่าง ๆ ของระบบสุริยะ
บริเวณต่างๆ ของระบบสุริยะ

แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt)
แถบดาวเคราะห์น้อย เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือ Minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์
มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือมีขนาดลดหลั่นกันไปจนถึงเศษฝุ่น วัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยกระจายอยู่อย่างเบาบางจนกระทั่งยานอวกาศหลายลำสามารถเคลื่อนผ่านไปได้โดยไม่ชนกับอะไรเลย นอกจากนั้น การชนกันระหว่างดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ได้ทำให้เกิดวงศ์ดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบธาตุและวงโคจรใกล้เคียงกัน การแตกสลายทำให้เกิดเศษฝุ่นละเอียดซึ่งกลายเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของแสงในแนวจักรราศี ดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงในแถบดาวเคราะห์น้อยได้รับการจำแนกตามสเปกตรัม โดยหลักมี 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดคาร์บอน (C-type) ชนิดซิลิเกต (S-type) และชนิดโลหะ (M-type)

การกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อย
การกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อย

แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt)
แถบไคเปอร์ หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ (Gerard Kuiper) ผู้ค้นพบ

อาณาบริเวณแถบไคเปอร์
อาณาบริเวณแถบไคเปอร์

แถบจานกระจาย (Scattered disc)
แถบจานกระจาย หรือ แถบหินกระจาย (Scattered disc) คือย่านวัตถุไกลในระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ห่าง ๆ กัน เรียกชื่อว่า วัตถุในแถบหินกระจาย (อังกฤษ: Scattered disc objects; SDO) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอยู่ในบรรดาตระกูลวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian object; TNO) วัตถุในแถบหินกระจายมีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูงสุดถึง 0.8 ความเอียงวงโคจรสูงสุด 40° มีระยะไกลดวงอาทิตย์ที่สุดมากกว่า 30 หน่วยดาราศาสตร์ วงโคจรที่ไกลมากขนาดนี้เชื่อว่าเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงที่กระจัดกระจายโดยดาวแก๊สยักษ์

ขอบเขตเฮลิโอพอส (Heliosphere)
เฮลิโอสเฟียร์ (Heliosphere) มีลักษณะคล้ายฟองอากาศอยู่ในห้วงอวกาศ ที่พองตัวอยู่ในสสารระหว่างดาว ซึ่งเป็นผลจากลมสุริยะ ทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะเอาไว้จากรังสีคอสมิก แม้จะมีอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าส่วนหนึ่งจากสสารระหว่างดาวสามารถลอดเข้ามา ภายในเฮลิโอสเฟียร์ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วสสารส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในเฮลิโอสเฟียร์ล้วนมีต้นกำเนิดมา จากดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น
ในรัศมี 10,000 ล้านกิโลเมตรแรก ลมสุริยะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า 1 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง[1][2] จากนั้นจึงเริ่มชะลอและสลายไปในสสารระหว่างดาว ลมสุริยะจะชะลอความเร็วลงจนหยุดลงในที่สุดและรวมไปในมวลสารเหล่านั้น จุดที่ลมสุริยะชะลอความเร็วลงเรียกว่า กำแพงกระแทก (Termination shock) จุดที่แรงดันของสสารระหว่างดาวกับลมสุริยะเข้าสู่สมดุลกันเรียกว่า เฮลิโอพอส (Heliopause) จุดที่สสารระหว่างดาวเคลื่อนที่ในทางตรงกันข้าม คือชะลอตัวลงเมื่อปะทะเข้ากับเฮลิโอสเฟียร์ เรียกว่า โบว์ช็อค (Bow shock)

อาณาบริเวณเฮลิโอสเฟียร์
อาณาบริเวณเฮลิโอสเฟียร์
ย่านของเมฆออร์ต (Oort cloud)
เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 50,000 - 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ ไกลออกไปจากขอบระบบสุริยะรอบนอก ตำแหน่งของเมฆออร์ตอยู่ในระยะความห่าง 1 ใน 4 ของดาวแคระแดงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ในกลุ่มเมฆออร์ตนี้มีวัตถุพ้นดาวเนปจูน อย่างดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 อยู่ด้วย
วัตถุในกลุ่มเมฆออร์ตคือเศษเหลือจากการสร้างดาวเคราะห์ เป็นก้อนน้ำแข็งสกปรก มีส่วนประกอบไปด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย ฝุ่น และหิน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร โดยนักดาราศาสตร์เชื่อกันว่ากลุ่มเมฆออร์ตเป็นแหล่งต้นกำเนิดของดาวหาง

ย่านของเมฆออร์ต
ย่านของเมฆออร์ต
 
ระบบสุริยะของเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ แต่ระบบสุริยะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับกาแล็กซีของเราหรือกาแล็กซีทางช้างเผือก ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณ วงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ที่ชื่อแขนโอไลออน ซึ่งเปรียบเสมือนวงล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ โดยระบบสุริยะจะอยู่ห่างจาก จุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ระนาบของระบบสุริยะเอียงทำมุมกับระนาบของกาแลกซี่ประมาณ 60 องศา ดวงอาทิตย์ จะใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อนครบรอบจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกครบ 1 รอบ นักดาราศาสตร์จึงมีความเห็นร่วมกันว่า เทหวัตถุทั้งมวลในระบบสุริยะ ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน มีอายุเท่ากันตามทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ
และจากการนำเอาหินจากดวงจันทร์มาวิเคราะห์การสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ทราบว่าดวงจันทร์มี อายุประมาณ 4,600 ล้านปี ในขณะเดียวกันนักธรณีวิทยาก็ได้คำนวณ หาอายุของหินบนผิวโลก จากการสลายตัวของอะตอมธาตุยูเรเนียม และสารไอโซโทปของธาตุตะกั่ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โลก ดวงจันทร์ อุกกาบาต มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี และอายุของระบบสุริยะนับตั้งแต่เริ่มเกิดจากฝุ่นละอองก๊าซในอวกาศจึงมีอายุไม่เกิน 5,000 ล้านปี ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว รวมทั้งฝุ่นละองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 8 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์

กาแล็กซี่ทางช้างเผือก (Milky way galaxy)
กาแล็กซี่ทางช้างเผือก (Milky way galaxy)
กลับหน้าหลัก